ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน

Facebook
Twitter

ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน

สาเหตุการเกิดปัญหาผมร่วงผมบาง พบว่า ผู้ชายร้อยละ 25 จะเริ่มมีอาการผมร่วงผมบางเมื่ออายุ 30 ปี ในขณะที่ผู้ชายร้อยละ 66 จะเริ่มศีรษะล้านเมื่ออายุย่าง 60 ปี โดยปัญหาผมร่วงผมบาง สร้างความกังวลใจให้กับผู้ที่เกิดปัญหาผมร่วงเป็นอย่างมาก ส่งผลต่อความมั่นใจและบุคลิกภาพ

จำนวนผู้ที่เกิดปัญหาผมร่วง ผมบาง สามารถพบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชายในจำนวนเท่า ๆ กัน ซึ่งสาเหตุมีอยู่ 2 สาเหตุด้วยกัน ได้แก่ สาเหตุผมร่วงผมบางมาจากการสืบทอดทางกรรมพันธุ์ และ สาเหตุผมร่วงผมบางที่เกิดจากการใช้ชีวิต อาทิเช่นโรคประจำตัว ยารักษาโรค และพฤติกรรมลักษณะนิสัยเป็นต้น

เพื่อให้เข้าใจสาเหตุของอาการผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านมากขึ้น สามารถศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ได้ตามหัวข้อต่อไปนี้

ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน

ปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน

โดยรวมแล้วเส้นผมทั้งศีรษะจะมีอยู่ประมาณ 1 แสนเส้น ซึ่งเส้นผมจะร่วงเป็นปกติวันละ 50-100 เส้น ตามธรรมชาติรากผมจะมีอายุได้ประมาณ 3 ปี โดยจะผลิตเคราตินเพื่อทับเส้นเก่าให้ยาวขึ้นเดือนละ 1 เซนติเมตร และมีบางส่วนทยอยหยุดการเติบโตพร้อมกับเกิดเส้นใหม่งอกขึ้นมา ดันรากเดิมจนร่วงออกไปเองภายในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งจะเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ

แล้วแบบไหนที่เรียกว่าผมร่วง? ก็อย่างเช่น เส้นผมของคุณร่วงมากกว่าวันละ 100 เส้น ในวันที่ไม่ได้สระผม และหลุดร่วงมากกว่าวันละ 200 เส้น ในวันที่สระผม ผมที่ร่วงแล้วไม่งอกขึ้นมาใหม่ หรืองอกขึ้นมาแต่เส้นเล็กลงกว่าเดิม และผมจะร่วงเฉพาะบริเวณ เช่น ร่วงกลางศีรษะ, ร่วงเป็นรูปตัวเอ็ม (m) บริเวณหน้าผาก, ร่วงเป็นหย่อม ๆ รูปตัวโอ (o) เป็นต้น ซึ่งผู้ชายและผู้หญิงจะมีลักษณะของโรคผมบางที่ต่างกัน ในผู้ชายจะมีลักษณะหัวเถิกหรือผมบางกลางกระหม่อม แต่ของผู้หญิงไม่รุนแรงขนาดนั้น แต่จะมีเพียงผมบางกลางศีรษะ ไม่ค่อยพบเห็นในลักษณะหัวเถิกเหมือนผู้ชาย

สาเหตุของผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน

สาเหตุการเกิดปัญหาผมร่วงผมบาง พบว่า ผู้ชายร้อยละ 25 จะเริ่มมีอาการผมร่วงผมบางเมื่ออายุ 30 ปี ในขณะที่ผู้ชายร้อยละ 66 จะเริ่มศีรษะล้านเมื่ออายุย่าง 60 ปี โดยปัญหาผมร่วงผมบาง สร้างความกังวลใจให้กับผู้ที่เกิดปัญหาผมร่วงเป็นอย่างมาก ส่งผลต่อความมั่นใจและบุคลิกภาพ จำนวนผู้ที่เกิดปัญหาผมร่วง ผมบาง สามารถพบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชายในจำนวนเท่า ๆ กัน ซึ่งสาเหตุมีอยู่ 2 สาเหตุด้วยกัน ได้แก่ สาเหตุผมร่วงผมบางมาจากการสืบทอดทางกรรมพันธุ์ และ สาเหตุผมร่วงผมบางที่เกิดจากการใช้ชีวิต อาทิเช่นโรคประจำตัว ยารักษาโรค และพฤติกรรมลักษณะนิสัยเป็นต้น

สาเหตุผมร่วง ผมบาง ที่เกิดจากการสืบทอดทางกรรมพันธุ์ ผมร่วงผมบางทางกรรมพันธุ์พบมากที่สุดถึง 90% ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

  • ผู้หญิงพบว่าผมร่วง ผมบาง มักเกิดขึ้นบริเวณกลางศีรษะ มากกว่าแนวผมด้านหน้า
  • ผู้ชายพบว่าผมร่วง ผมบาง มักเกิดขึ้นบริเวณหน้าผากหรือแนวผมด้านหน้า จะทำให้ศีรษะล้านเป็นรูปตัว U

“กรรมพันธุ์” พบได้มากที่สุดประมาณ 90% ของผู้หญิงศีรษะล้านผมบาง อาการแสดงที่พบได้บ่อย คือ ผมบางหรือศีรษะล้าน

ซึ่งมักจะพบบริเวณกลางศีรษะ ส่วนแนวผมด้านหน้าจะไม่ถอยร่นเข้าไปเหมือนในผู้ชาย ซึ่งสามารถแบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 – เริ่มมีผมบางแต่ไม่มากนัก จะเห็นได้ชัดตามรอยแสกผม เส้นผมจะเริ่มบางและเส้นเล็กลง สามารถรักษาด้วยการใช้ยาดูก่อน ไม่มีความจำเป็นถึงต้องปลูกผม

ระดับที่ 2 – ผมบางมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเริ่มเห็นหนังศีรษะ กลางศีรษะล้าน เริ่มขยายมากขึ้นกว่าเดิม สามารถรักษาด้วยวิธีการปลูกผม แล้วควรใช้ยาเพื่อชะลอหรือป้องกันไม่ให้ผมเดิมหลุดร่วงมากขึ้น มิฉะนั้นผมเดิมจะบางลงอีก จนอาจต้องกลับมาปลูกผมซ้ำอีก

ระดับที่ 3 – ผมจะบางมาก จนเห็นหนังศีรษะได้อย่างชัดเจน พื้นที่ของศีรษะล้านจะขยายอาณาบริเวณออกไปด้านข้างโดยรอบ สามารถรักษาด้วยการใช้ยาร่วมกับการปลูกผม แต่ผลที่ได้ไม่ค่อยดี เนื่องจากมีการสูญเสียเส้นผมไปเป็นจำนวนมากแล้ว ส่วนการใส่วิกก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

สาเหตุอื่น ๆ ซึ่งจะพบได้ประมาณ 10% มีมากมายหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ คือ โรคผมร่วงชนิดเป็นหย่อม (Alopecia Areata), โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ, โรคผิวหนังบางชนิด (เช่น โรคเรื้อน, เชื้อราบนหนังศีรษะ, สะเก็ดเงิน), โรคโลหิตจาง, โรคไตเรื้อรัง, โรคซิฟิลิส, โรคไฮโปไทรอยด์, โรค SLE, โรค PCOS, โรคจิตที่ชอบถอนผมตัวเอง (Trichotillomania)

ภาวะต่าง ๆ (เช่น ภาวะหลังการคลอดบุตร, ภาวะหลังหมดประจำเดือน, ภาวะหลังการผ่าตัด, ภาวะหลังการลดน้ำหนักมาก ๆ), เนื้องอกของรังไข่ที่ผลิตฮอร์โมนเพศชาย, ยาบางชนิด (เช่น ยาคุมกำเนิดบางชนิด, ยาลดความดัน, ยาลดไขมันในเลือด, ยาเคมีบำบัด, ยากันชัก, ยารักษาภาวะซึมเศร้า, ยาเบต้าบล็อก, ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด), ความเครียด, สุขภาพอ่อนแอ, การรวบผมที่แน่นมากจนเกินไปอยู่ตลอดเวลา (traction alopecia) ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้เช่นกัน ฯลฯ

โดยแบ่งความรุนแรงของระดับผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ได้ 3 ระดับ

  • ระดับที่ 1 – ระยะแรกที่เริ่มมีอาการผมร่วง ผมบางแต่ไม่มากนัก จะสังเกตได้ตามแนวรอยแสกผม เส้นผมจะเริ่มบางและเส้นผมเล็กลง
  • ระดับที่ 2 – ระยะกลาง ผมร่วง ผมบางลงอย่างเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น เช่น บริเวณกลางศีรษะ ผมร่วงผมบาง จนเห็นหนังศีรษะ กลางศีรษะล้านและเริ่มขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น
  • ระดับที่ 3 – ระยะปลาย ผมร่วงผมบางมากจนเห็นหนังศีรษะอย่างชัดเจน และขยายพื้นที่ของผมบางเป็นวงกว้าง ตั้งแต่กลางศีรษะและเริ่มขยายออกไปด้านข้างโดยรอบศีรษะ

สาเหตุผมร่วงผมบางที่เกิดจากการใช้ชีวิต และปัจจัยต่าง ๆ ภายนอกพบได้ว่ามีเพียง 10% เท่านั้นที่เกิดปัญหาผมร่วงผมบาง จากการใช้ชีวิต อาทิเช่นโรคประจำตัว ยารักษาโรค และลักษณะนิสัยในชีวิตประจำวัน

  • การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เส้นผมต้องการสารอาหารเช่นกัน ผมร่วงอาจมีสาเหตุมาจากน้ำหนักลดฉับพลัน ระดับธาตุเหล็กต่ำ หรือขาดโภชนาการ แต่อาการนี้เกิดขึ้น หากมีการรับประทานอาหารที่เหมาะสมก็จะสามารถแก้ไขอาการผมร่วงได้
  • ความเครียด หรือ ภาวะต่าง ๆ เช่น ภาวะหลังการคลอดบุตร, ภาวะหลังหมดประจำเดือน, ภาวะหลังการผ่าตัด
  • ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงหรือต่ำเกินไป
  • ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิดบางชนิด, ยาลดความดัน, ยาลดไขมันในเลือด, ยาเคมีบำบัด, ยากันชัก, ยารักษาภาวะซึมเศร้า, ยาเบต้าบล็อก, ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • อาการแพ้ยา การฉายรังสี การบำบัดด้วยเคมี
  • ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ, โรคผิวหนังบางชนิด (เช่น โรคเรื้อน, เชื้อราบนหนังศีรษะ, สะเก็ดเงิน), โรคโลหิตจาง, โรคไตเรื้อรัง, โรคซิฟิลิส, โรคไฮโปไทรอยด์, โรค SLE, โรค PCOS
  • โรคที่ชอบถอนผมตัวเอง (Trichotillomania) หรือ การมัดผมหางม้าตึงเกิดไปอย่างเป็นประจำ และการถักผมเปียติดหนังศีรษะ
  • เมื่อทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงผมบางแล้วควรหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวเพื่อลดสาเหตุปัญหาผมร่วงผมบาง

ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน

พฤติกรรมที่ทำประจำที่ส่งผลให้เป็นสาเหตุผมร่วงผมบาง

พฤติกรรมที่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวเองผมร่วงผมบาง ตั้งแต่อายุก็ยังไม่เยอะ บำรุงผมอย่างดี ทำไมผมยังร่วงและผมยังค่อยๆบางลง ไม่มีวอลุ่มพองสวยเหมือนเก่า คุณอาจมีพฤติกรรมที่ทำให้ผมร่วงผมบางโดยไม่รู้ตัวก็ได้ มาลองเช็คพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผมร่วงผมบาง

  • สระผมบ่อยเกินไป หากคุณเป็นคนที่มีหนังศีรษะมัน หรือแม้กระทั่งเป็นคนที่ออกกำลังกายทุกวัน จนต้องทำให้เราสระผมทุกวัน จริง ๆ แล้วการสระผมบ่อยเกินไปอาจทำให้หนังศีรษะแห้ง จนเกิดอาการคันศีรษะ ระคายเคือง จนเป็นรังแค และทำให้ผมร่วงได้ในที่สุด
  • หวีผมแรงๆ บ่อย ๆ และหวีผมขณะผมเปียก สาวๆที่ผมยาวจะรักผมตัวเองมาก หยิบหวีขึ้นมาหวีผมบ่อย ๆ หรือหวีผมขณะที่ผมยังเปียกอยู่ คุณอาจกำลังทำร้ายผมโดยไม่รู้ตัว เพราะนอกจากการหวีผมจะทำให้เส้นผมหลุดร่วงมากขึ้นโดยไม่จำเป็นแล้ว หวียังเสียดสีกับเส้นผมมากเกินไป จนทำให้ผมแห้งเสียได้เช่นกัน
  • ใช้ไดร์ร้อนเป่าผมบ่อยเกินไป ความร้อนจากไดร์เป่าผม นอกจากจะทำให้ผมแห้งเสียได้ง่ายแล้ว ยังอาจทำให้หนังศีรษะแห้ง คัน ขาดความชุ่มชื่น และเส้นผมหลุดร่วงจากหนังศีรษะได่ง่ายอีกเช่นกัน เพราะฉะนั้น อย่าจ่อไดร์เป่าผมที่หนังศีรษะ และอย่าใช้ไดร์เป่าผมนาน หรือมากจนเกินไป
  • ดัด ย้อม ทำสีผม มากเกินไป สำหรับคนที่ชอบเปลี่ยนสีผมบ่อย ๆ อาจประสบปัญหาเส้นผมหยาบกระด้าง เส้นผมแตกปลาย ชี้ฟู แห้งเสีย ปลายผมช็อตเป็นหยักๆ บำรุงเท่าไรก็ยากที่จะกู้ชีวิตขึ้นมาได้ ต้องรอยาวแล้วตัดออกอย่างเดียว คงเข้าใจดีว่าน้ำยาทำสีผมทำร้ายสุขภาพผมมากเท่าไร แต่นอกจากจะทำร้ายเส้นผมแล้ว ยังทำร้ายหนังศีรษะ จนอาจเป็นเหตุให้ผมร่วงได้อีกด้วย
  • ทานอาหารรสจัด อาหารการกินจะส่งผลกับการหลุดร่วงของเส้นผมเราได้ อาหารรสจัดจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เส้นเลือดหดตัวลง เป็นผลทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมได้น้อยลง และทำให้รากผมไม่แข็งแรงเท่าที่ควรจะเป็น
  • ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ไม่ได้ทำลายเพียงแต่อวัยวะสำคัญๆ อย่างตับ ไต เท่านั้น ยังส่งผลไปถึงระบบไหลเวียนโลหิต เส้นเลือดที่จะอยู่ในภาวะหดตัว และแข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น ทำให้เลือดไหลเวียนแย่ลง เมื่ออวัยวะต่าง ๆ ไม่ได้รับเลือดเข้ามาไหลเวียนอย่างที่ควรจะเป็น ก็จะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ตามร่างกายทำงานแย่ลง เช่นเดียวกับเซลล์ผิวหนัง รูขุมขน ที่ไม่แข็งแรง ทำให้ผมขาดหลุดร่วง เกิดผมบางได้ในที่สุด

ในปัจจุบัน มีวีธีการรักษาโดยการปลูกผมมากมายหลากหลายวิธี หากเกิดอาการผมร่วงมากจนผิดปกติ ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่ผมร่วงจะทำให้เกิดอาการหัวล้านอย่างถาวร

ผมร่วงผิดปกติเกิดจากอะไรได้บ้าง

ลักษณะของการเกิดผมร่วงที่ผิดปกติ

  • ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จะมีอาการผมร่วงเฉพาะที่ในรูปแบบกลมหรือรี มีขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มีเส้นผม หนังศีรษะในบริเวณนั้นไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย บางคนอาจพบเส้นผมสีขาวขึ้นในบริเวณนั้น ผู้ป่วยอาจมีผมร่วงเพียง 1-2 หย่อม หรืออาจมากกว่า 10 หย่อม ถ้าเป็นมากอาจลุกลามจนทั่วศีรษะ บางคนอาจมีขนตาและขนคิ้วร่วงร่วมด้วย ผู้ป่วยบางคนอาจหายไปเองตามธรรมชาติ แต่อาจกินเวลาเป็นปี บางคนเมื่อรักษาหายแล้วอาจกำเริบได้ใหม่ เป็นๆ หายๆ บ่อยครั้ง ซึ่งอาจเป็นร่วมกับโรคต่อมไทรอยด์และโรคด่างขาว
  • ผมร่วงจากการถอนผม พบได้บ่อยในเด็กที่มีปัญหากดดันทางจิตใจด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ปัญหาทางครอบครัว ปัญหาการเรียน เด็กบางคนอาจถอนผมเล่นจนเป็นนิสัย ผู้ป่วยจะถอนผมตัวเองจนผมแหว่ง หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะไม่มีผื่นคันหรือเป็นขุย และจะพบเส้นผมที่เป็นตอสั้นๆอยู่มาก เนื่องจากผู้ป่วยถอนออกไม่ถนัด
  • ผมร่วงจากเชื้อรา โรคเชื้อราที่ศีรษะ (กลากที่ศีรษะ) อาจพบได้บ่อยในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อรา โรคนี้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ เป็นผื่นแดงคันและเป็นขุยหรือสะเก็ด นอกจากนี้ มักจะพบร่องรอยของโรค เชื้อรา (กลาก) ที่มือ เท้า ลำตัวหรือในบริเวณร่มผ้าร่วมด้วย
  • ผมร่วงจากการทำผม การทำผมด้วยการม้วนผม ย้อมสีผม ดัดผม เป่าผม หรือวิธีอื่น ๆ อาจทำให้ผมร่วงได้ จากการที่มีหนังศีรษะอักเสบ หรือเส้นผมเปราะหัก
  • ผมร่วงจากยาและการฉายรังสี ยาที่อาจทำให้เกิดอาการผมร่วงมีอยู่หลายชนิด เช่น ยารักษามะเร็ง การฉายรังสีในการรักษามะเร็ง ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ยารักษาคอพอกเป็นพิษ ยาคุมกำเนิด ยาใช้ป้องกันโรคเกาต์
  • ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเอสแอลอี อาจมีอาการ ผมร่วง ผมบาง ร่วมกับอาการไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า โรคเรื้อรังบางอย่าง ก็ทำให้ผมร่วงได้ เช่น ไทรอยด์ ซิฟิลิส โรคตับ โรคไต
ข้อแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วง
  • ควรสระผมทำความสะอาดเส้นผมและผิวหนังของศีรษะอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ควรเกาหรือขยี้หนังศีรษะแรงจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกับหนังศีรษะ เช่น การย้อม ทำสี ดัด ผมที่บ่อยเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการดึงหรือถอนผมเล่น
  • หลีกเลี่ยงความเครียดเพราะจะกระตุ้นให้อาการผมร่วงมากขึ้น

ทั้งนี้ อาการผมร่วงในผู้ป่วยบางรายอาจหายเองได้หลังการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี และหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผมร่วง แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุของโรคและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน

ผมร่วงแค่ไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ

ผมร่วงมากแค่ไหนถึงเรียกปกติ โดยปกติคนเราผมร่วงเป็นปกติแต่หากผมร่วงต่อเนื่องเกินวันละ 30-50 เส้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนที่เกิดจากโรคหรือความผิดปกติของร่างกาย เช่น โรคเอสแอลอี ไทรอยด์ ซิฟิลิส โรคตับ โรคไต

โดยปกติผมของคนเรามีประมาณ 80,000-1,200,000 เส้น งอกยาวขึ้นประมาณวันละ 0.35 มิลลิเมตรและมีอายุนาน 2-6 ปี ซึ่งปกติจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 30-50 เส้น ดังนั้น ผมร่วงผิดปกติอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ อาทิเช่น ผมร่วงจากกรรมพันธุ์ พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ชายมากกว่า เนื่องจากรากผมมีความไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ทำให้เส้นผมมีอายุสั้นกว่าปกติและเส้นผมที่เกิดใหม่มีขนาดเล็กและบางลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะและหน้าผากเริ่มสังเกตได้เมื่อมีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ส่วนผู้หญิงมักแสดงอาการผมร่วงหลังวัยหมดประจำเดือน ผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราว

ในแต่ละวันจะมีเส้นผมประมาณ 10-15% ที่หยุดเจริญและหลุดร่วงไป แต่ในบางภาวะเส้นผมที่กำลังเจริญอาจหยุดการเจริญในทันที ทำให้มีเส้นผมเสื่อมและหลุดร่วงเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติ เช่น ผู้หญิงหลังคลอดบุตร ทารกแรกเกิด หลังจากเป็นไข้สูง ได้รับการผ่าตัดใหญ่ เจ็บป่วยเรื้อรัง การเสียเลือด การบริจาคเลือด การใช้ยาบางชนิด และภาวะเครียดทางจิตใจ ผมร่วงชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นใน 1-3 เดือน หลังจากนั้นจะหยุดร่วงและงอกขึ้นใหม่ตามปกติ

แต่หากมีอาการผมร่วงจนรู้สึกได้ว่าผมบางลงจนเห็นหนังศีรษะควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไปก่อนที่จะเกิดอาการศีรษะล้านได้ในอนาคต

ผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน

รักษาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านด้วย PRP

PRP หรือ Platelet rich plasma คืออะไร ?

คือ การรักษา โดยการนำเอาเลือดของตนเองมารักษา โดยเทคนิคการรักษาแบบนี้ได้ถูกนำมาใช้ในทางทันตกรรม และการผ่าตัดศัลยกรรมกระดูก เพราะความสะดวกในการรักษาและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ รวมทั้งในการรักษาด้านความงาม (Aesthetic Medicine) ที่มีการใช้ฉีดเข้าไปที่ใบหน้า จุดประสงค์เพื่อให้ผิวพรรณบนในหน้าเรียบเนียน อ่อนกว่าวัย ลดริ้วรอย ฝ้ากระดูจางลง

การรักษาด้วยเทคนิค PRP เป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง กระบวนการรักษา โดย PRP นั้นคือการนำเกล็ดเลือด โดยใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นที่เหมาะสมในการใช้ในการรักษา ใช้เกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นกว่าเกล็ดเลือดในกระแสโลหิตทั่วไป 3 – 4 เท่า เกล็ดเลือดจะประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือดและส่วนของเหลว เราเรียกว่าพลาสมา เกร็ดเลือดมีลักษณะเป็นเหมือนแผ่นเล็กๆที่มีอายุขัยเพียง 7-10 วัน

เพราะในเกล็ดเลือดมีสารที่เรียกว่า Growth Factor เป็นสารกระตุ้นการเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เป็นสารกระตุ้นให้เกิดการเติบโตเร็ว เซลล์ที่ว่านี้ ก็คือ เซลล์ Fibroblast ซึ่งเป็นเซลล์ที่ช่วยสร้าง Collagen ทำให้ใบหน้าดูอ่อนวัย ลดริ้วรอย และผิวสว่างดูกระจ่างใส สามารถใช้ร่วมกับการรักษาอย่างอื่นได้ เช่น เลเซอร์ ทรีทเม้นท์ และยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาให้มากขึ้น การรักษาแบบนี้ มีโอกาสแพ้น้อยมาก เพราะเราใช้เลือดตนเองในการรักษา

ขั้นตอนการทำ PRP

  • ทายาชาทั่วหน้า ทิ้งให้ยาชาออกฤทธิ์ประมาณ 30 นาที
  • ทำการเจาะเลือดจากข้อพับแขน 2 ข้าง ใช้เลือดประมาณ 30-60 CC
  • นำเลือดเข้าสู่กระบวนการปั่นแยกเกล็ดเลือดที่สมบูรณ์ในเครื่อง Centrifuge ในความถี่ที่เหมาะสม จะได้เม็ดเลือดขาว และ เม็ดเลือดแดง แยกเกร็ดเลือดออกมาเป็นชั้น โดยเลือกชั้นที่เป็นเกล็ดเลือดเยอะที่สุดมาใช้ เราเรียกเกล็ดเลือดนี้ว่า PRP (Platelet-Rich Plasma) เพราะในเกล็ดเลือดที่ได้จากการปั่นนั้นจะหลั่งสารที่เรียกว่าา Growth Factor
  • ฉีดเกล็ดเลือด PRP เข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่ต้องการฟื้นฟูซ่อมแซมม เช่น ใบหน้า ต้นแขน ต้นขา หนังศีรษะ

ผลลัพธ์ ที่ได้จากการทำ PRP (Platelet-Rich Plasma)

  • ช่วยกระตุ้นคอลลาเจนบนใบหน้า ทำให้เซลล์ผิวแข็งแรง อ่อนกว่าวัย กระจ่างใส ลดริ้วรอย
  • ช่วยซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่เสื่อมสภาพ
  • เร่งการฟื้นฟูซ่อมแซมและรักษาผิว ช่วยให้ผิวตึงกระชับ เรียบ เนียนและอ่อนนุ่ม
  • มีความปลอดภัยสูง เพราะรักษาด้วยเกร็ดเลืือดของตนเอง

**หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อายุ และการดูแลรักษาหลังทำการรักษา**

การทำ PRP รักษาปัญหาผมร่วงผมบางเหมาะสำหรับใครบ้าง ?

การทำ PRP เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาผมร่วงผมบางนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหา ผมร่วงผมบาง หรือศีรษะล้าน ที่เกิดจากการหลุดร่วงของเส้นผมมากผิดปกติ จนทำให้มีปัญหาในเรื่องของผมบางจนมองเห็นหนังศีรษะ การทำ PRP เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนไข้ที่ต้องการตัวช่วยเสริมในการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ทานยาหรือทายา มีความปลอดภัยสูงเพราะเลือดที่ใช้ในการนำมารักษาเป็ณเลือดของตัวคนไข้เองทำให้ไม่ก่อให้เกิดภาวะต่อต้านเลือด

การทำทรีนเม้นท์ PRP คือ การฉีดพลาสม่าที่มีปริมาณเกร็ดเลือดสูง ฉีดเข้าไปที่บริเวณรากผมทำให้เกิด Growth Factors (GF) จำนวนมาก และ GF จะช่วยกระตุ้นและเรียกให้เกิดการทำงานของเซลล์ซ่อมเซลล์ ที่อยู่ในกระแสเลือดและบริเวณรากผมทำให้เกิดการซ่อมแซมและกระตุ้นการสร้างเซลล์รากผมที่หยุดทำงานแล้วให้เกิดการสร้างเส้นผมใหม่ ทำให้ผมหนาขึ้นและมีเส้นผมที่ใหญ่ขึ้นแข็งแรงขึ้น โดยการใช้เลือดของคนไข้เข้าเครื่องปั่นที่ออกแบบเฉพาะเพื่อสกัดแยกพลาสม่าที่มีเกร็ดเลือดเข้มข้นออกมา และฉีดกลับไปที่หนังศีรษะ เพื่อกระตุ้นให้เส้นผมสามาถเติบโตและดูหนาขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ยังช่วยหยุดการเกิดปัญหาผมร่วง ผมบาง และศีรษะล้านได้ รากผมจะกลับมาทำงานตามปกติ ผมจะดูหนาขึ้นภายในระยะเวลา 3 เดือน โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือรับประทานยา

พลาสม่า ( Plasma ) หรือน้ำเลือด คือส่วนประกอบของเลือด มีลักษณะเป็รสีเหลืองใส มีสัดส่วน ร้อยละ 55 ในเลือด ซึ่งพลาสม่านี้ได้มาจากการนำเลือด ( blood ) ไปปั่นด้วยเครื่องเหวี่ยงสารด้วยความเร็วและแรงถี่ที่เหมาะสม รวมทั้งเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป ทำให้พลาสม่าแยกออกมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด และเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยพลาสม่าจะแยกชั้นอยู่ด้านบนสุด โดยแพทย์จะเลือกใช้แต่ชั้นเลือดที่มีความเข้มข้นของเกร็ดเลือดสูง เกร็ดเลือดจะทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอโดยปล่อยสารต่างๆเช่น Growth foctor , Protein และ Cytokines เป็นต้น สารทั้งหมดเหล่านี้จะทำงานด้วยกัน ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่รากผมและกระตุ้รเซลล์รากผมที่หยุดทำงานแล้วกลับมาทำงานสร้างเซลล์เส้นผมใหม่อีกครั้ง

 

ผลลัพธ์การรักษา

 

ชึ้นอยู่กับสภาพปัญหาที่มีมากน้อยของแต่ละบุคคล หากสภาพของเซลล์รากผมหยุดทำงานหรือรากผมตายสนิท จะต้องรักษาด้วยวิธีอื่น ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter

พร้อมยินดีให้คำปรึกษา

เจนเทิล คลีนิก เปิดให้บริการเวลา 12.00 – 20.00 น.

บทความที่น่าสนใจ