ฝ้า กระ จุดด่างดำ

รักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ เกิดจากอะไร ต้องรักษาอย่างไร

Facebook
Twitter

ฝ้า กระ จุดด่างดํา ปัญหาของผิวพรรณที่สร้างความรำคาญใจให้กับสาว ๆ หนุ่ม ๆ หลายคน ฝ้ากระที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหน้าหรือตามร่างกายเกิดจากหลายสาเหตุและการรักษาให้หายขาดนั้น การทาครีมบำรุงจึงเป็นเรื่องยากและยาวนานกว่าจะเห็นผลในการรักษาฝ้ากระ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีและแนวทางการรักษาฝ้ากระให้หายเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เข้าใจฝ้า กระ จุดด่างดำมากขึ้น สามารถศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ได้ตามหัวข้อต่อไปนี้

สาเหตุของการเกิดฝ้า และวิธีป้องกันการเกิดฝ้าแต่ละชนิด

ฝ้าเลือด หรือในทางการแพทย์เรียกว่า Vascular melisma หรือ Telangiectetic melisma ฝ้าเลือดเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า ผลมาจากการใช้เครื่องสำอาง หรือยา ที่มีส่วนผสมของเสตียรอยด์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก โดยฝ้าจะมีสีน้ำตาลแดง จัดเป็นฝ้าที่รักษายาก ฝ้าเลือดพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายถึง 80%

ฝ้าจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ฝ้าฮอร์โมนพบบนใบหน้าเพศหญิงมากกว่าเพศชายนั้น เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ ที่เรียกว่า “Mark of pregnancy”
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างวัยหมดประจำเดือน หรือ กลุ่มที่มีประจำเดือนไม่ปกติ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ฝ้าที่เกิดจากการทานยาที่มีผลต่อฮอร์โมนคุมกำเนิด เช่น ยากลุ่มฟีไนโทอีน และยากลุ่มไฮโดรควิโนน เป็นต้น

การป้องกันหรือรักษาฝ้าที่เกิดจากการทานยานั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อแจ้งให้ทราบถึงผลข้างเคียงที่ได้รับโดยแพทย์อาจทำการหยุดยา หรือเปลี่ยนยาตัวอื่นที่ไม่มีผลข้างเคียงแทน ทั้งนี้ในส่วนของฝ้าที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์จะหาย หรือจางลงไปเองหลังการคลอดบุตร

ฝ้าแดด ฝ้าที่เกิดจากแสงแดด การโดนแสงแดดโดยตรงและโดนแสงแดดเป็นเวลานาน ทำให้เกิดฝ้าแดดได้ง่าย ซึ่งแสงแดดเป็นอันตรายต่อผิว เพราะแสงแดดมีรังสี UVA และ UVB ที่ส่งตรงมายังผิวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รังสี UVA ที่มีความยาวคลื่นมากกว่าจึงส่งผลไปถึงชั้นผิวที่ลึกกว่า ทำให้เกิดทั้ง “ฝ้าแดด และกระ” ได้ในเวลาเดียวกัน

การเกิดฝ้าแดดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการรับปริมาณแสงแดด และการผลิตเม็ดสีผิว (Melamine pigment) จากเซลล์เม็ดสีผิวใต้ผิวหนัง (Melanocytes) ของแต่ละคน เนื่องจากเม็ดสีผิวของเรามีหน้าที่กรองรังสีจากแสงแดด เมื่อได้รับแสงแดดมากเม็ดสีจะถูกผลิตมากขึ้น ทำให้เกิดฝ้า และทำให้สีของฝ้าเข้มขึ้น

ฝ้า-กระ-จุดด่างดำ

ประเภทของฝ้าและฝ้ามีกี่ชนิดไปเช็คกันว่าเราเป็นฝ้าชนิดไหน

“ฝ้า (Melasma หรือ Cholasma)” ฝ้ามีลักษณะ เป็นปื้นสีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม บางครั้งมีสีออกดำอมฟ้า หรือสีแดง พบการขยายวงกว้างบริเวณโหนกแก้มได้มากกว่าที่อื่นบนใบหน้า ในบางครั้งเราอาจพบกระ ซึ่งเป็นจุดเล็กๆสีน้ำตาลกระจายอยู่ร่วมกับฝ้าอีกด้วยค่ะ ซึ่งฝ้าจะมีทั้งหมด 3 ชนิดหลักๆดังนี้

  • ฝ้าลึก (Dermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังแท้ใต้หนังกำพร้า มีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้า มีขอบเขตของฝ้าไม่ชัดเจน สังเกตได้ว่าฝ้าชนิดนี้จะกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง
  • ฝ้าตื้น (Epidermal type) – เกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังกำพร้า มีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ ฝ้ายนิดนี้จะเห็นขอบเขตของการเกิดฝ้าได้ชัดเจน
  • ฝ้าผสม (Mix type) – ฝ้าที่มีการผสมกันระหว่างฝ้าลึก และฝ้าตื้นบนใบหน้า

วิธีป้องกันฝ้าแดด

หลีกเลี่ยงการเจอแสงแดดโดยตรง ทาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ SPF 30 ขึ้นไป

ฝ้า-กระ-จุดด่างดำ

ฝ้าเลือดเกิดจากอะไร ?

“ฝ้าเลือด” เกิดจากเส้นเลือดบริเวณใบหน้ามีปัญหา เสียสภาพ ไม่สามารถกักเก็บเลือดได้ ทำให้เลือดซึมออกมาที่บริเวณใต้ผิวหนัง และยังเป็นฝ้าที่คนไทยนิยมเป็นกันมากที่สุด ส่วนใหญ่คนที่เป็นฝ้าเลือด มักจะมีปัญหาเรื่องผิวบาง แสบผิวเวลาโดนแดด บางรายทาครีมก็แสบผิว การบำรุงรักษา จึงต้องเริ่มจากการฟื้นฟูผิวและป้องกันผิวไปพร้อมๆ กัน ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิด “ฝ้าเลือด” มีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • การทานยาที่มีส่วนประกอบคล้ายๆฮอร์โมน เช่น ยาคุม ยากันชัก
  • การทาครีมหน้าขาวที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • การลอกผิวด้วยสารเคมี ตามสถาบันความงาม หรือซื้อครีมลอกผิวมาใช้เอง
  • การทำเลเซอร์ แล้วดูแลผิวหน้าหลังเลเซอร์ไม่ดี

วิธีดูแลรักษาฝ้าเลือด

  1. หยุดใช้ครีมที่ก่อให้เกิดผิวบอบบางเช่น ครีมที่มีสารไฮโดรคิวโน และสารเสตียรอยในรูปแบบครีมหน้าขาวตามอินเตอร์เน็ต ที่ไม่ได้รับการรับรองจาก อย. ซึ่งครีมเหล่านี้จะทำร้ายผิวหน้าให้บางลง และไวต่อแสงแดดทำให้เกิดฝ้าแดดตามมาจนเป็นฝ้าฝังลึก คนที่เป็นฝ้าเลือดก็จะมีฝ้าที่ชัดขึ้น และทำให้รักษาฝ้ายากมากยิ่งขึ้น
  2. หมั่นทาครีมกันแดดเป็นประจำก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง เพราะครีมกันแดดจะช่วยบรรเทารังสี UV และความร้อนจากแสงแดด จอคอมพิวเตอร์ จอมือถือ และความร้อนจากหลอดไฟได้ระดับหนึ่ง ทำให้รอยฝ้าเลือดสีจางลงได้ เพราะฝ้าเลือดมักจะเข้มเมื่อเจอความร้อนนั่นเอง นอกจากทาครีมกันแดดแล้วก็ควรสวมหมวก หรือกางร่มเมื่อต้องเผชิญกับแสงแดดเป็นเวลานาน ๆ ด้วย
  3. สามารถทานยาปรับธาตุในร่างกายได้เช่น ยาฟอกเลือดที่เป็นยาจีนหรือยาไทย ยาเหล่านี้จะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุลขึ้น ส่วนยาฟอกเลือดจะช่วยขับสารพิษในเลือดทำให้เลือดสะอาดสีเลือดไม่เข้มหรืออ่อนเกินไป เมื่อร่างกายได้ปรับสมดุล และเลือดสะอาดขึ้นแล้ว รอยฝ้าเลือดก็จะค่อยๆจางลงได้ (ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยตรงก่อนรับประทายยา)
  4. เลือกใช้ทาครีมรักษาฝ้าจากสารสกัดธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยบำรุงผิวที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และบำรุงเซลล์ผิว เช่น กลุ่มแคโรทีนอยด์ Vitamin C, E ครีมรักษาฝ้าเหล่านี้จะช่วยปรับสีผิวโดยรอบของฝ้าให้ค่อยๆกระจ่างใสขึ้นได้ ทำให้รอยฝ้าค่อยๆจางลง
  5. ทานอาหารที่มีประโยชน์เน้นผักและผลไม้หลากสีเพื่อบำรุงผิว การพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และการทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้ฝ้าจางลงได้

การดูแลตัวเองหลังการได้รับการรักษา จะช่วยให้ฝ้ากลับมาได้ยากขึ้น และยังช่วยให้ผิวหน้าสวยไร้ฝ้าได้ยาวนานมากขึ้นอีกด้วย

ฝ้า-กระ-จุดด่างดำ

ฝ้าแดดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

“ฝ้าแดด” เกิดขึ้นจาก รังสี UVA ที่ทำร้ายผิวหน้า ซึ่งรังสียูวีเอจะมีช่วงคลื่นที่ยาวกว่ารังสียูวีบี จึงสามารถทำลายผิวได้ลึก จนเม็ดสีเมลานินทำงานหนักขึ้น เนื่องจากเม็ดสีเมลานินนั้นมีหน้าที่กรองรังสียูวี เมื่อผิวได้รับแสงแดดมากขึ้น เมลานินก็จะถูกผลิตออกมามากขึ้น จนเกิดเป็นรอยดำ ที่เรียกว่า “ฝ้าแดด” นั่นเอง

นอกจาก “แสงแดด” จะทำให้เกิดฝ้าได้แล้ว ความร้อนจากเตา แสงไฟ แสงหน้าจอโทรศัพท์ เครื่องสำอางค์ ยาคุมกำเนิด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และกรรมพันธุ์ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน

วิธีดูแล รักษาฝ้าแดด

  1. ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ประมาณ 30-50 PA+++ ก่อนออกจากบ้าน 45 นาที และหากต้องเผชิญแสงแดดโดยตรงควรทาระหว่างวันอีกครั้ง เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดที่ดียิ่งขึ้น หลีกเลี่ยงการกระทบกับแสงแดด และความร้อนจากไฟนีออน จอคอมพิวเตอร์ เป็นเวลานานๆ เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถปล่อยคลื่นรังสี UV ทำร้ายผิวให้เกิดรอยไหม้คล้ำได้
  2. ใช้ครีมรักษาฝ้าที่ไม่มีสารเคมีทำร้ายผิว เช่น ครีมรักษาฝ้าที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ อาร์บูติน กรดโคจิก AHA วิตามินซี และสารสกัดอื่นๆที่ช่วยลดรอยฝ้า กระ เช่น กรดแอเซเลอิค และกรดเรตินอยด์ ซึ่งจะเป็นกรดที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวคล้ำให้หลุดลอกได้ ฝ้าจึงค่อยๆจางลงได้
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ผักผลไม้ที่มีวิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ วิตามินซีอย่าง ส้ม แอปเปิ้ล มะละกอ แตงโมง รวมถึงผักใบเขียวต่างๆด้วย เมื่อร่างกายได้รับประทานสิ่งเหล่านี้เข้าไป จะช่วยในการขับถ่าย ขับล้างสารพิษในร่างกาย ฝ้า กระ ก็จะค่อยๆทุเลาลง
  4. พอกหน้าด้วยสมุนไพรรักษาฝ้า เช่น หัวไชเท้า ว่านหางจระเข้ แตงกวา และแครอท เป็นต้น สมุนไพรเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายต่อผิวหน้า และช่วยยับยั้งการเกิดฝ้าได้ดี ทำให้ฝ้าค่อยๆจางลง
  5. การใช้เลเซอร์รักษาฝ้าด้วยโปรแกรมการรักษา เพราะหากฝ้าแดดที่เป็นอยู่ฝังลึกเป็นเวลานาน ควรใช้เลเซอร์เป็นทางเลือกในการรักษา เพราะการทำเลเซอร์ทำให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าและสร้างผิวใหม่ขึ้น และยังสามารถเจาะจงบริเวณที่จะทำการรักษาได้เนื่องจากแพทย์ผิวหนังสามารถควบคุมความเข้มข้นของการรักษาได้ ลำแสงเลเซอร์สามารถเข้าถึงได้ตั้งแต่ผิวหนังชั้นบนสุดจนถึงผิวหนังชั้นล่างสุด ทำให้ฝ้าที่เกิดจางแดดจางลงได้

ข้อแนะนำ – หลังทำเลเซอร์ควรปฏิบัติตามที่แพทย์กำหนด เพราะอาจทำให้ ผิวบอบบางไวต่อแดด และฝ้าฝังลึกยิ่งกว่าเดิม

หมายเหตุ : หากอาการรักษาฝ้าไม่ดีขึ้น ควรไปพบ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เพื่อรับยารักษาฝ้า และปรึกษาคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อได้รับการรักษาฝ้าให้ดีขึ้นตามลำดับ

ฝ้า-กระ-จุดด่างดำ

กระ มีกี่ชนิด? และกระเกิดจากอะไร ?

กระแต่ละชนิดมีลักษณะและสาเหตุการเกิดกระบนใบหน้าที่แตกต่างกันออกไป แบ่งได้ 4 ชนิด

  1. กระตื้น

กระตื้น มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ มักพบบริเวณที่สัมผัสแดดมาก เช่น โหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง , จมูก ในบางรายกระอาจกระจายทั่วหน้า ลำคอ แขน และหน้าอก เป็นต้น โดยส่วนมากจะพบบ่อยในชาวยุโรป

กระตื้น เกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ผิวหนังทำงานผิดปกติ โดยสาเหตุที่เซลล์เม็ดสีทำงานผิดปกตินั้นส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรม ทำให้เซลล์เม็ดสีมีความไวต่อแสงแดดมากกว่าปกติ ทำให้เกิดกระบนในหน้าตั้งแต่เด็ก ประกอบกับการสัมผัสกับแสงแดดเป็นประจำโดยไม่มีการป้องกันแสงแดด ก็มีโอกาสทำให้กระเข้มขึ้น เพิ่มจำนวนมากขึ้น และขยายใหญ่ขึ้นด้วย

  1. กระลึก

กระลึก มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นแผ่นสีน้ำตาล เทา ดำ ขอบไม่ชัด มองเผินๆ คล้ายฝ้า มักพบบริเวณ โหนกแก้ม ดั้งจมูก ขมับทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น โดยกระชนิดนี้พบบ่อยในชาวเอเชีย โดยเฉพาะในคนญี่ปุ่น จีน และไทย

กระลึก เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดสีบริเวณชั้นหนังแท้ โดยจะพบตั้งแต่แรกเกิด และถูกกระตุ้นโดยรังสี UV จากแสงแดด ร่วมกับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นช่วงวัยรุ่นหรือช่วงตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้นก็มีส่วนทำให้กระเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

  1. กระเนื้อ

กระเนื้อ มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม พบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง โดยอาจขึ้นเป็นตุ่มเนื้อเล็กๆ แล้วค่อยขยายใหญ่ขึ้น นูน และมีสีเข้มขึ้น โดยมีการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า

กระเนื้อ เกิดจากผิวหนังชั้นหนังกำพร้าเจริญเติบโตมากผิดปกติ ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดกระ คือแสงแดดและอายุที่มากขึ้น โดยยิ่งมีอายุมากขึ้น ขนาดก็จะใหญ่ขึ้นและจำนวนก็มากขึ้น

  1. กระแดด

กระแดด มีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นเรียบๆ สีน้ำตาลหรือสีดำขนาดเล็ก ขอบชัด พบบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดบ่อยๆ เช่น ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น ส่วนใหญ่เกิดในผู้ที่มีผิวขาวและมีอายุค่อนข้างมาก

กระแดด เกิดจากการได้รับแสงแดดแรงๆ การเล่นกีฬา ทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือบางครั้งอาจมาจากการรักษาโรคอื่นๆ เช่น การรักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยการฉายแสง UVA ก็มีผลทำให้เกิดกระแดดได้เช่นกัน

วิธีการรักษากระ รักษากระอย่างไร ?

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดกระ

  • แสงแดด คือตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดกระ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงกันสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหมวก กางร่มหรือสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด รวมทั้งทาครีมกันแดดที่ช่วยป้องกันรังสีUV โดยควรมีค่า SPF 30 Pa+++ ขึ้นไป
  • ยาบางชนิด ที่มีฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบ เช่น ยาคุมกำเนิด ก็ส่วนทำให้เกิดกระได้ ดังนั้นอาจลองปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงทางเลือกอื่นๆ ในการคุมกำเนิด
  1. ทายารักษากระ

การรักษากระ สามารถทำได้ด้วยการทายา เช่น AHA (กรดผลไม้) หรือยาที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการผลัดเซลล์ผิวเก่าและกระตุ้นให้สร้างเซลล์ผิวใหม่ แต่วิธีนี้อาจเห็นผลช้า โดยต้องทาติดต่อกันอย่างต่อเนื่องประมาณ 2-6 เดือนจึงจะเห็นความเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้หลายคนที่มีปัญหาเรื่องกระ หรือฝ้า อาจเคยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือรักษาฝ้าที่มีส่วนผสมของสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ซึ่งจะออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง ทำให้ใบหน้าแลดูกระจ่างใสขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ครีมหน้าขาว” แต่ผลข้างเคียงก็ร้ายแรงมาก เช่น รู้สึกระคายเคืองต่อผิว เกิดจุดด่างขาวที่ผิวหน้า ผิวหน้าดำ เกิดตุ่มนูนสีดำบริเวณที่ทายาบ่อยๆ เช่น โหนกแก้มและสันจมูก และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 6 เดือน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หายได้อีกด้วย และยังเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง ปัจจุบันยาชนิดนี้ถูกสังห้ามนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่วางจำหน่ายทั่วไป

  1. รักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์

เทคโนโลยีการแพทย์มีหลากหลายรูปแบบที่ช่วยบรรเทา รักษากระบนใบหน้าให้จางลงได้ วิธีที่เป็นที่นิยมคือการใช้เลเซอร์เพื่อทำให้กระแลดูจางลง การรักษาแบบนี้จะเป็นการยิงคลื่นแสงความยาวคลื่นต่างๆ ลงไปถึงชั้นผิวด้านใน เพื่อให้ผิวซ่อมแซมตัวเอง พร้อมกับผลัดเซลล์ผิวได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากการทำเลเซอร์ก็ยังมีวิธีรักษากระรูปแบบอื่นๆ เช่น การทำทรีตเมนท์ การฉีดยาเมโส เป็นต้น โดยวิธีการรักษากระนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

แหล่งอ้างอิง โรงพยาบาลผิวหนังอโศก

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter

พร้อมยินดีให้คำปรึกษา

เจนเทิล คลีนิก เปิดให้บริการเวลา 12.00 – 20.00 น.

บทความที่น่าสนใจ