ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ป้องกันได้ด้วยการขลิบไร้เลือด

Facebook
Twitter

หากพูดถึงภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะแล้ว หลายคนมักจะคิดว่าเกิดขึ้นเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงนั้นสามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายได้เช่นกัน ว่าแต่ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากอะไร มีอาการที่สามารถสังเกตได้อย่างไร หากเกิดขึ้นแล้วควรรักษาด้วยวิธีไหนได้บ้าง รวมถึงมีวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เข้าสู่ภาวะติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟัง

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเกิดจากอะไร

Urinary tract infection เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli, Escherichia coli) ร้อยละ 75-95%, เชื้อ Staphylococcus saprophyticus (ร้อยละ 5-20%) และแบคทีเรียในกลุ่ม Enterobacteriaceae ซึ่งเชื้อดังกล่าวได้เข้าไปสู่ท่อปัสสาวะและก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณรอบท่อปัสสาวะ แม้ว่าโดยส่วนใหญ่จะเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่า และอยู่ใกล้ทวารหนัก แต่ก็มีโอกาสเกิดในผู้ชายได้เช่นกันถึงแม้โอกาสจะน้อยกว่าก็ตาม

สาเหตุของภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

  • อั้นปัสสาวะ
  • นั่งไขว่ห้างเป็นเวลานาน
  • ดื่มน้ำน้อยกว่า 8-12 แก้วต่อวัน
  • มีนิ่วหรือเนื้องอกอุดตันบริเวณทางเดินปัสสาวะ
  • ท่อไตหรือกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ
  • โครงสร้างของไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะผิดปกติ
  • ผู้ป่วยติดเตียง ไม่สามารถลุกปัสสาวะได้
  • ผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะคาไว้เพื่อช่วยปัสสาวะ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันโรค
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

ระดับและอาการของโรค

ระบบทางเดินปัสสาวะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ทางเดินปัสสาวะตอนบน เป็นส่วนของไตและท่อไต และทางเดินปัสสาวะตอนล่าง ซึ่งเป็นส่วนของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ โดยอวัยวะในระบบทางเดินปัสสาวะที่มักเกิดการอักเสบ คือ กระเพาะปัสสาวะ ทางการแพทย์เรียกภาวะดังกล่าวว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยทั้ง 2 ระดับนี้มีอาการใกล้เคียงกันดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเจ็บปวด ปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อยครั้ง หรืออั้นปัสสาวะไม่ได้
  • ถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอย รู้สึกว่าปัสสาวะไม่สุด
  • ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น
  • ปัสสาวะมีสีขุ่น หรือมีเลือดปน
  • รู้สึกปวดท้องน้อย
  • รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ผู้สูงอายุอาจมีอาการสับสนหรือทำกิจกรรมได้น้อยลง
  • มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดหลังส่วนบนและเอว

รักษาปัญหาติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะด้วยวิธีดังต่อไปนี้

สำหรับวิธีการรักษา แพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะมาอย่างน้อย 3-5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยาและเน้นรักษาตามอาการ ยกตัวอย่างเช่น แพทย์จ่ายยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจก่อให้เกิดอาการได้ง่าย แต่ในกรณีที่ส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะแล้วพบว่ามีความผิดปกติเพิ่มเติม อย่างมีนิ่วแฝงมาด้วย อาจต้องรักษาด้วยการส่องกล้อง ผ่าตัด ใช้สายสวน หรือสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษาแต่ละท่าน

วิธีป้องกันการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ

อั้นปัสสาวะ

1.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ติดนิสัยอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน นั่งไขว่ห้างเป็นประจำจนเคยชิน ละเลยการดื่มน้ำน้อยวันละ 8-12 แก้ว (ประมาณ 3.7 ลิตรต่อวัน สำหรับผู้ชาย) รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัยด้วย และถึงแม้ว่าคุณจะใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ แต่หากดูแลสุขภาพอวัยวะเพศไม่ดี อาจทำให้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ อย่างเช่น เริม หรือโรคหนองในได้ด้วย ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ จะดีที่สุด

2.ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี

เชื่อหรือไม่ว่าการดูแลตัวเอง นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย เนื่องจากโรคบางประเภทส่งผลให้ต่อทางเดินปัสสาวะ ยกตัวอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ยิ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของไตมากเท่านั้น หรือภาวะนิ่วในไตที่ส่งผลให้เกิดการกีดขวางทางเดินปัสสาวะ จนปัสสาวะลำบากและเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายขึ้น เป็นต้น

3.การขลิบไร้เลือด

เนื่องจากบริเวณที่ไม่ได้ขลิบอาจก่อให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค ดังนั้นการขลิบจะช่วยป้องกันและรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศไปในตัว นอกจากจะช่วยป้องกันปัญหาติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะแล้ว การขลิบไร้เลือดยังช่วยให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศง่ายขึ้น ช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ แก้ปัญหาหนังหุ้มปลายบีบรัดหลังมีเพศสัมพันธ์, ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งองคชาต อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างเช่น HIV อีกด้วย แต่ทั้งนี้อย่าลืมใส่ถุงอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยนะครับ

สำหรับการขลิบไร้เลือด เป็นการตัดหนังหุ้มปลายโดยใช้เครื่องขลิบอัตโนมัติแบบสวมครอบ (Round Stapler) แทนการกรีดตัดแบบดั้งเดิม ซึ่งใช้กรรไกร มีด หรือเครื่องจี้ไฟฟ้าสำหรับเปิดหนังหุ้มปลายออก ซึ่งเครื่องขลิบอัตโนมัติแบบสวมครอบสามารถตัดรอบวงหนังหุ้มปลาย และเย็บติดด้วยกลัดอลูมิเนียมในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้การขลิบไร้เลือดมีข้อดีกว่าการขลิบแบบเก่าตรงที่ใช้เวลาไม่นาน เพียง 10-15 นาทีเท่านั้น แถมยังแม่นยำมากจนแทบไม่มีเลือดออก คนไข้จึงไม่เจ็บมากหลังการรักษา เนื่องจากคนไข้ไม่สูญเสียเลือดขณะผ่าตัดนั่นเอง ว่าแต่การขลิบไร้เลือดมีข้อดีอย่างไร สามารถคลิกอ่านที่ลิงก์ด้านล่างได้เลยครับ

ขลิบไร้เลือด ขลิบคลิกเดียว

นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสุขทางเพศให้แก่ผู้ชายได้ดีขึ้น เนื่องจากการขลิบจะช่วยให้รูปทรงของอวัยวะเพศสวยงามขึ้น แถมยังช่วยให้คุณได้รับสัมผัสจากการสอดใส่หรือการสำเร็จความใคร่ได้มากขึ้น รวมถึงแก้ปัญหาหลั่งไว เนื่องจากหัวองคชาตเปิดตลอดเวลา จึงถูกเสียดสีและช่วยลดความไวต่อสัมผัส ส่งผลให้หลั่งช้าลงด้วย

บทความที่น่าสนใจ

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter

พร้อมยินดีให้คำปรึกษา

เจนเทิล คลีนิก เปิดให้บริการเวลา 12.00 – 20.00 น.

บทความที่น่าสนใจ