หนึ่งในปัญหาที่กวนใจใครหลาย ๆ คนที่หากใครเป็นเข้าขั้นรุนแรงและอาจต้องหาทางรักษาในระยะยาวเลยนั่นก็คือปัญหาหลุมสิวบนผิวหน้านั่นเอง ว่าแต่หลุมสิวเกิดจากอะไร รักษายากอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจจริงไหม แล้ววิธีการรักษาแบบไหนที่เห็นผลลัพธ์คงทนถาวรมากที่สุด วันนี้เรามีคำตอบมาฝากครับ
หลุมสิวคืออะไร
เป็นรอยแผลเป็นที่บุ๋มลึกลงไปที่เกิดขึ้นหลังจากสิวอักเสบหายไป โดยเกิดจากการอักเสบอย่างรุนแรงของสิวที่ทำให้กระบวนการซ่อมแซมผิวหนังไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดการยุบตัวลงของผิวจนมีลักษณะคล้ายหลุม บริเวณที่มีหลุมสิวจะไม่เรียบเนียนเท่าผิวส่วนอื่น บางคนอาจมีหลุมสิวเพียงบางจุด แต่บางคนอาจมีหลุมสิวลุกลามกระจายอยู่ทั่วใบหน้า สำหรับสาเหตุมาจากสิวอักเสบและสิวขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดแผลบริเวณชั้นผิว ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูผิวให้สมานกันได้แบบ 100% โดยสิวที่ก่อให้เกิดหลุมสิวได้มีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ สิวหัวช้างเม็ดใหญ่ (Cyst), สิวอักเสบรุนแรง (Pustule) หรือสิวหัวหนอง และสิวเป็นไต (Nodule)
หลุมสิวมีกี่แบบ อะไรบ้าง
1. Ice Pick Scar
เป็นหลุมสิวที่มีปากแผลแคบไม่เกิน 2 มม. บริเวณก้นแผลจะแคบกว่าปากแผลคล้ายทรงกรวย หลุมสิวชนิดนี้ส่วนใหญ่พบได้บริเวณแก้ม จัดเป็นหลุมสิวที่อยู่ในระดับความรุนแรงที่มากที่สุดในบรรดาหลุมสิวทั้งหมด อีกทั้งเป็นหลุมสิวที่รักษายากที่สุดด้วยเนื่องจากสิวได้กินเเนื้อผิวเข้าไปจนถึงชั้นรูขุมขนและชั้นผิวหนังแท้ ส่งผลให้คอลลาเจนที่อยู่ในชั้นผิวหนังแท้หายไปด้วย
2. Box Scar
เป็นหลุมสิวที่มีลักษณะคล้ายบ่อสี่เหลี่ยม ลึกประมาณ 3-5 มม. มีพังผืดเกาะติดอยู่ในชั้นหนังแท้ แม้ลักษณะหลุมสิวจะมีขนาดใหญ่กว่า Ice Pick Scar แต่จัดว่าอยู่ในระดับความรุนแรงที่น้อยกว่า โดยมีสาเหตุมาจากมีสิวอักเสบลึกและเป็นผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสได้ด้วยเช่นกัน หลุมสิวลักษณะนี้ส่วนใหญ่มักพบบริเวณกรอบหน้า
3. Rolling Scar
เป็นหลุมสิวที่มีลักษณะกลมหรือวงรีโค้ง เป็นแอ่งเว้าลงไปเล็กน้อย เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดรั้งชั้นตั้งแต่หนังแท้ไปจนถึงเนื้อใต้ผิวหนัง หลุมสิวประเภทนี้จัดเป็นหลุมสิวที่มีระดับความรุนแรงที่น้อยที่สุดเนื่องจากเป็นหลุมสิวบริเวณส่วนบนของชั้นผิวเท่านั้น จึงสามารถรักษาให้หายได้ง่ายกว่าหลุมสิวแบบอื่น
ทำไมบางคนไม่เป็นหลุมสิว
ขึ้นอยู่กับการดูแลผิวหน้าของแต่ละคนครับ หากคุณดูแลผิวหน้าเป็นอย่างดี ทำความสะอาดและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิวที่เหมาะกับผิวหน้า ดื่มน้ำบ่อย ๆ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่แกะเกาผิวหน้าบ่อย ๆ นอนหลับพักผ่อนตามเวลา ทาครีมกันแดดหน้าอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ผิวหน้าดูสุขภาพดี ห่างไกลจากสิว หรือหากเกิดสิวก็อยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงจนเกิดหลุมสิวได้นั่นเองครับ
หลุมสิวหายเองได้ไหม
มีทั้งได้และไม่ได้ครับ ขึ้นอยู่กับประเภทของสิว หากเป็นหลุมสิวประเภท Rolling Scar ก็อาจรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยารักษาสิว แต่หากเป็นหลุมสิวประเภท Box Scar และ Ice Pick Scar ที่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่านั้นไม่สามารถรักษาให้หายเองได้ จำเป็นจะต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์เท่านั้นครับ
หลุมสิวรักษาได้ไหม
หลายคนอาจคิดว่าหลุมสิวเป็นแล้วเป็นเลย แต่ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยวิธีทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยใช้ยา/ครีมรักษาหลุมสิว, เลเซอร์หลุมสิว, การฉีดฟิลเลอร์เติมเข้าไปในหลุมสิว แต่ในปัจจุบันเราสามารถรักษาหลุมสิวให้หายได้ 100% ด้วยเทคนิคการรักษา
รักษาหลุมสิวด้วยวิธีไหนบ้าง
1. การฉีดไขมัน (Fat Grafting)
เป็นการนำไขมันจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมาฉีดเติมผิวที่หายไปบริเวณหลุมสิว ข้อดีของวิธีนี้คือไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้เนื่องจากเป็นไขมันที่ร่างกายเราผลิตเองและติดอยู่บนใบหน้าของเราได้นานหากทำโดยแพทย์ที่มีความชำนาญสูง แต่ก็เป็นวิธีที่เสี่ยงด้วยเช่นกันเพราะไขมันที่ฉีดเข้าไปอาจเป็นไขมันที่ตายแล้วที่อาจทำให้เห็นผลลัพธ์หลังการรักษาไม่มากนัก นอกจากนี้คนไข้จำเป็นต้องกลับมาฉีดซ้ำประมาณ 1-3 ครั้ง เพื่อคงผลลัพธ์เอาไว้ต่อเนื่อง และที่สำคัญหากแพทย์ไม่ชำนาญพอ ใช้เวลาทำการรักษานานเกินไปก็อาจทำให้มีปัญหากับผิวหน้าเพิ่มเติมได้อีกด้วย
2. การลอกผิว (Chemical Peels)
เป็นการใช้สารเคมี (ยาแก้หลุมสิว) ทาลงบนหลุมสิวเพื่อเร่งการผลัดเซลล์และทำให้ผิวส่วนบนลอกออกไป แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การลอกผิวระดับตื้น/ปานกลาง/ลึก ยิ่งลอกผิวได้ลึกเท่าไหร่ก็ยิ่งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนได้มากขึ้นเท่านั้น วิธีนี้อาจเสี่ยงต่อผิวหนังระคายเคืองหรืออาจเกิดรอยดำและรอยด่างจากกรดในสารเคมี หากการรักษาไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับหัวใจ ไต และตับได้ในระยะยาว
3. การเลาะพังผืด (Subcision)
เป็นการใช้เข็มตัดเลาะพังผืดใต้ผิวหนังเพื่อกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจนขึ้นมาเติมหลุมสิวให้ตื้นขึ้น โดยคนไข้จะต้องเข้ารับการรักษานี้ติดต่อกันประมาณ 3-5 ครั้ง แต่ละครั้งจะต้องเว้นระยะประมาณ 3-5 สัปดาห์ ทั้งนี้อาจรักษาด้วยการเลเซอร์และ P-Cell (PRP) ควบคู่กันไปด้วย การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวแบบ Rolling Scar และ Box Scar สำหรับข้อจำกัดของการรักษาประเภทนี้อาจมีผลข้างเคียงหลังการรักษา เช่น อาการฟกช้ำ บวมเขียว หรือติดเชื้อ
4. ฉีดฟิลเลอร์ (Derma Filler)
เป็นการฉีดสารไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid) หรือ HA ประมาณ 1-2 CC (ตามลักษณะของหลุมสิว) เพื่อเติมเต็มหลุมสิวให้ตื้นขึ้น ผิวเรียบเนียนดูเป็นธรรมชาติ โดยทั่วไปนิยมใช้ฟิลเลอร์ยุโรปยี่ห้อ Juvederm และ Restylane แม้ว่าจะเห็นผลลัพธ์ทันทีหลังฉีดและไม่ต้องพักฟื้นใด ๆ แต่มีข้อจำกัดตรงที่ผลลัพธ์หลังการรักษาอาจคงอยู่ได้เพียง 6-12 เดือน เนื่องจากสาร HA เป็นสารที่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของคนไข้แต่ละราย ดังนั้นคนไข้จำเป็นต้องเข้ามาฉีดเป็นประจำอย่างน้อย 1-2 ครั้ง/ปี เพื่อคงผลลัพธ์หลังการรักษา
5. การยิงเลเซอร์ (Laser Therapy)
เป็นการยิงคลื่นแสงเข้าไปยังชั้นผิวเพื่อผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกออกและกระตุ้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังให้สร้างคอลลาเจนขึ้นมาเติมหลุมสิวให้ตื้นขึ้น แม้จะเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับปัญหาหลุมสิวทุกประเภทแต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาการแสบร้อนระคายเคืองหลังการรักษา เลเซอร์บางตัวอาจมีผลทำให้คนไข้ต้องนอนพักฟื้น ไม่สามารถกลับบ้านได้ทันที และที่สำคัญยังเห็นผลลัพธ์หลังการรักษาที่ช้า อยู่ที่ประมาณ 1-3 เดือนขึ้นไปอีกด้วย
6. JuvGenesis
เป็นเทคนิคการรักษาหลุมสิวจาก ดร.จินเซฮุน (Dr. Jin Se-hun) ศัลยแพทย์ชื่อดังจากประเทศเกาหลี ผู้คิดค้นวิธีการรักษาหลุมสิวด้วยเทคนิคการฟื้นฟูผิวหนังด้วยตัวเอง เทคนิคนี้แตกต่างจากเทคนิคการรักษาหลุมสิวแบบอื่นที่เน้นการกรอผิว (Physical Stimulation) ซึ่งไม่สามารถรักษาปัญหาหลุมสิวได้อย่างถาวร แต่ JuvGenesis จะเน้นไปที่การสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ใต้หลุมสิวเพื่อกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูผิวหนังตัวเองและเติมเต็มริ้วรอยของแผลเป็นลึก ช่วยเติมผิวหนังที่หายไปจากหลุมสิวให้กลับมาเต็มได้อย่างถาวร ด้วยการฉีดสาร CO2 Foam ที่ประกอบไปด้วย Chemical (CO2)/Biological (HA)/ Physical (Subcision) Stimulation ที่นอกจากจะกระตุ้นเซลล์ผิวแล้ว ยังปลอดภัยต่อร่างกายอีกด้วย ส่วนเครื่องมือที่ฉีดสารเข้าไปนั้นถูกออกแบบมาสำหรับรักษาหลุมสิวโดยเฉพาะ จึงไม่ทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บขณะทำหัตถการแม้แต่น้อย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: JUVGEN คืออะไร ทำไมถึงตอบโจทย์การดูแลผิวหน้าของคนยุคใหม่
ป้องกันหลุมสิวยังไงดี
1. ล้างเครื่องสำอางทุกครั้งก่อนเข้านอน
ด้วยความเหนื่อยล้าสะสมตลอดทั้งวัน ทำให้หลายคนอาจละเลยการล้างเครื่องสำอางก่อนเข้านอนอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการไม่ได้ล้างเครื่องสำอางก่อนเข้านอนจะทำให้เครื่องสำอางอุดตันอยู่ในรูขุมขนและเกิดสิวตามมา นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาผิวหน้าแก่ก่อนวัยเนื่องจากเครื่องสำอางอุดตันจนผิวไม่สามารถหายใจและซ่อมแซมตัวเองได้ตามปกติจนกลายเป็นริ้วรอยและตีนกาตามมาได้อีกด้วย ดังนั้นอย่าลืมใช้ผลิตภัณฑ์ลบเครื่องสำอาง คลีนเซอร์ และโทนเนอร์ ก่อนล้างน้ำแล้วตบท้ายด้วยมอยส์เจอไรเซอร์ที่ช่วยเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวด้วยนะครับ
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าบ่อย ๆ
หลายคนอาจคุ้มชินกับการใช้มือสัมผัสหน้าเวลาเหงื่อไหล หรือช่วงที่มีสิวโผล่ขึ้นมาก็มักจะใช้เล็บแกะเอาสิวออก จริง ๆ แล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งนะครับ เพราะมือและเล็บของเรามักมีเชื้อโรคปะปนอยู่ หากสัมผัสบริเวณสิวก็อาจทำให้เชื้อโรคเข้าไปในผิวหน้าและเกิดสิว ยิ่งถ้าสัมผัสผิวบริเวณที่บอบบางด้วยแล้วก็ยิ่งเกิดสิวง่ายขึ้นด้วยครับ
3. นอนหลับให้เพียงพอ
แม้ว่าหลายคนจะรู้อยู่แล้วว่าวัยผู้ใหญ่ควรนอนหลับอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงแล้วแต่ละคนมีช่วงเวลาการนอนที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากภาระการงานที่รัดตัวหรือแม้กระทั่งการติดซีรีส์หรือติดเกมมากเกินไป ส่งผลให้เวลานอนน้อยลงและก่อให้เกิดปัญหาสิวตามมาได้อีกด้วย เนื่องจากการนอนน้อยจะทำให้ระบบหมุนเวียนของเลือดและน้ำเหลืองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ต่อมไขมันทำงานผิดปกติและทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไขมันมากเกินไปจนเกิดรูขุมขนกว้าง นอกจากนี้ยังส่งผลให้ผิวหยาบกระด้าง มีริ้วรอยก่อนวัยง่ายขึ้นด้วย
4. รักษาอย่างถูกวิธี
บทความที่น่าสนใจ
ทำ Juvgen ที่ไหนดี ทำไมต้อง Gentle Clinic
GentleClinic เราเป็นทีมแรกในไทยที่ใช้เครื่อง JuvGen รักษาหลุมสิวและร่องลึก โดยได้รับการเทรนโดยตรงจาก Dr.จิน (Jin Se-hun) เราพร้อมด้วยประสบการณ์และเทคนิคในการยิงหลุมที่ลึกและยากกว่าหลุมทั่วไป เช่น box scar ที่มีขอบแข็ง หลุมแผลเป็นลึกจากอีสุกอีใส ร่องพับลึกบนหน้าฝาก เป็นต้น เราจึงกล้าการันตีผลการรักษา จ่ายครั้งเดียวจบ เติมหลุมสิวจนเต็มโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม JuvGen
- เบอร์โทรศัพท์: 099-245-7555
- Line: https://page.line.me/gentleclinic
- Facebook: Gentle Clinic
- Instagram: gentleclinic_thailand