ไม่ว่าใครก็ตามก็คงเคยเจอปัญหาสิวกันทั้งนั้น แม้ว่าบางคนจะดูแลผิวหน้าดีแค่ไหน ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงมากเท่าไหร่แต่ก็ยังมีสิวขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนว่าสิวที่ขึ้นเห่ออยู่นั้นอาจเป็นสิวฮอร์โมนที่หลายคนเลี่ยงไม่ได้ ว่าแต่สิวชนิดนี้คืออะไร เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไรได้บ้าง วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังครับ
สิวฮอร์โมนคืออะไร
เป็นสิวที่เกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ โดยฮอร์โมนที่มีผลทำให้เกิดสิวนั้นคือฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ที่กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันให้ทำการผลิตน้ำมันหรือซีบัม (Sebum) ผ่านรูขุมขนที่นอกจากจะทำให้ผิวหน้ามันขึ้นแล้วยังเข้าไปอุดตันอยู่ในรูขุมขนร่วมกับเซลล์ที่ตายแล้ว ส่งผลให้แบคทีเรีย P. acne (Propionibacterium acnes) เจริญเติบโตและกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ก่อให้เกิดการอักเสบและเกิดสิวตามมา
สำหรับช่วงเวลาที่เกิดสิวฮอร์โมนได้มากที่สุดจะเป็นช่วงเข้าสู่วัยรุ่น (อายุ 15 – 18 ปี) รองลงมาก็จะเป็นช่วงรอบประจำเดือน ช่วงตั้งครรภ์ ช่วงหมดประจำเดือน ช่วงหลังจากหยุดใช้ยาคุมกำเนิด ช่วงที่มีความเครียดสะสม รวมถึงช่วงที่มีปัญหาสุขภาพอย่างภาวะถุงน้ำรังไข่ได้ด้วยเช่นกัน โดยสิวที่เกิดขึ้นมีทั้งสิวอักเสบและสิวอุดตัน แล้วบริเวณที่เกิดสิวฮอร์โมนได้มากที่สุดจะเป็นบริเวณแก้ม ใกล้ปาก คาง กราม และแผ่นหลัง
สิวฮอร์โมนมีกี่แบบ อะไรบ้าง
1. สิวอุดตัน
แบ่งออกเป็นสิวหัวดำและสิวหัวขาว เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายไปแล้ว โดยสิวหัวขาวจะเกิดจากปฏิกิริยาออกซิไดซ์กับอากาศจนกลายเป็นสีดำ
2. สิวอักเสบ
เป็นสิวที่เกิดจากการอักเสบของร่างกาย แบ่งเป็นสิวหัวแดง สิวหัวดำ และสิวหัวขาว โดยสิวอักเสบจะมีอาการปวดบวมหรือรู้สึกร้อนๆ บริเวณรอยสิว
สิวฮอร์โมน ต่างจากสิวปกติอย่างไร
1. บริเวณที่เกิดสิว
หากเป็นสิวฮอร์โมนนั้นจะพบได้ในบริเวณที่มีต่อมไขมันมากๆ เช่น ใบหน้าช่วงคาง สันกลาม ลำคอ หน้าอก และหลัง ส่วนสิวปกติมักพบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก ไหล่ และแผ่นหลัง
2. ชนิดของสิว
หากเป็นสิวทั่วไปจะมีทั้งสิวหัวขาว สิวหัวดำ สิวตุ่มน้ำ และสิวเนื้อ ส่วนสิวที่เกิดจากฮอร์โมนจะมีทั้งสิวหนอง สิวหัวดำ และสิวหัวช้าง (Nodules)
3. อาการของสิว
หากเป็นสิวฮอร์โมนโดยส่วนมากแล้วจะเป็นสิวอักเสบ สร้างความรู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองต่อผิวเป็นอย่างมาก แต่หากเป็นสิวโดยทั่วไปอาจไม่มีอาการเจ็บปวดมากนัก
วิธีสังเกตสิวฮอร์โมนด้วยตัวเอง
- มักเกิดขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน
- เป็นสิวที่เกิดขึ้นบริเวณเดิมซ้ำๆ หรือเป็นสิวเรื้อรัง ไม่หายสักที
- เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบริเวณรอบๆ ปาก กราม คาง กรอบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง
- ยิ่งมีภาวะเครียดเท่าไหร่ก็ยิ่งมีสิวเห่อขึ้นมามาก
สิวฮอร์โมน รักษาอย่างไร
- รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยในการลดการอักเสบของร่างกาย อย่างเช่น ผักใบเขียว มะเขือเทศ ปลาทะเล ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ถั่ว น้ำมันมะกอก เป็นต้น
- พยายามจัดการความเครียดในแต่ละวันเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่จะเร่งการผลิตน้ำมันไปอุดตันรูขุมขน
- ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำและกระตุ้นให้ร่างกายผลิตไขมันเพิ่มขึ้นเพื่อมาเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
- ทายาในกลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอ (Retinoids) เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) หรือยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ (Antibiotics) ที่มีส่วนช่วยในการรักษาสิวอุดตันและสิวอักเสบ แต่ทั้งนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากยาในกลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองและทำให้ผิวไวต่อแสงแดดได้มากขึ้น
- รับประทานยารักษาสิวฮอร์โมน ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ Doxycycline, Minocycline, Tetracycline รับประทานยาคุมกำเนิด (Oral Contraceptives) หรือรับประทานยาไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) ในกรณีที่มีปัญหาสิวอักเสบระดับรุนแรงปานกลางไปจนถึงระดับรุนแรงมาก
- การใช้สารเคมีลอกผิว (Chemical Peeling) เป็นวิธีการเร่งการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่อยู่ชั้นนอกสุดออกมาเพื่อแก้ปัญหารูขุมขนอุดตัน เพียงแต่การรักษาสิวด้วยวิธีนี้อาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้สารที่ใช้ อาจทำให้ผิวระคายเคืองง่ายในระยะยาว หรือแม้แต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากคุณต้องการรักษาด้วยวิธีนี้จริงๆ แนะนำให้ปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- การฉีดสิว (Acne Injection) เป็นการฉีดกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ลงไปบริเวณตุ่มสิวที่ไม่มีหัวแต่มีการอักเสบจนบวมใหญ่เพื่อยับยั้งการอักเสบและช่วยให้สิวยุบตัว แม้ว่าจะช่วยให้สิวยุบตัวได้จริงและไม่มีอาการเจ็บจากสิวอีกต่อไป แต่เป็นวิธีที่เจ็บมากๆ เนื่องจากเข็มที่ใช้จะฉีดเข้าไปยังสิวโดยตรง หลังจากฉีดไปแล้วผิวบริเวณที่ฉีดอาจไม่เรียบเนียนและเกิดเป็นรอยด่างขาวตามมา และที่สำคัญวิธีการรักษานี้ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุซึ่งอาจก่อให้เกิดสิวฮอร์โมนตามมาได้ในภายหลัง
สิวฮอร์โมน ป้องกันได้ไหม
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าสิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นเองตามระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นคุณจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิวชนิดนี้ได้ 100% ทำได้เพียงแค่ลดความเสี่ยงที่จะเกิดสิวฮอร์โมนด้วยการ
- จัดการภาวะความเครียดไม่ให้มีผลต่อการใช้ชีวิตมากเกินไป
- การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันหรือสารอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดสิว
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีแดดแรงที่จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตไขมันมาเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
- ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ว (ประมาณ 2,000 มิลลิลิตร) เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวและลดการผลิตน้ำมันจากต่อมไขมัน
- นอนหลับพักผ่อนวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่จะกระตุ้นการหลั่งไขมันจากต่อมไขมันที่มากเกินไปจนไปอุดตันรูขุมขนและก่อให้เกิดสิว
- ทำความสะอาดผิวหน้าอย่างถูกวิธี ไม่ถูกผิวหน้าแรงจนเกินไปจนก่อให้เกิดการระคายเคืองบนผิวหน้าและอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดสิว
- รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย (ผู้หญิง)
ถ้ามีหลุมสิวจากสิวฮอร์โมน ทำยังไงดี
หากคุณมีหลุมสิวจากสิวฮอร์โมนนั้นอาจจะต้องสังเกตก่อนว่าเป็นหลุมสิวชนิดไหน หากเป็นหลุมสิวที่ไม่ลึกมากก็สามารถทายารักษาหลุมสิวหรือเข้ารับการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แบบทั่วไป เช่น การทำเลเซอร์หลุมสิว การกรอผิว (Dermabrasion) หรือการเซาะพังผืด (Subcision)
แต่หากเป็นหลุมสิวลึกนั้นก็ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการรักษาหลุมสิวโดยทั่วไปได้ จะต้องรักษาด้วยวิธีที่เหมาะกับปัญหาหลุมสิวลึกอย่างแท้จริง นั่นก็คือเทคนิค JuvGenesis จาก Dr.จิน (Jin Se-hun) ที่เน้นไปที่การฟื้นฟูผิวหนังของตัวเองได้ลึกถึงชั้นผิวหนังแท้ ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลังการรักษาเหมือนวิธีอื่น ปลอดภัยต่อทุกสีผิวเพราะไม่ทำให้ผิวไวต่อแสงเหมือนเลเซอร์ เห็นผลลัพธ์ทันทีหลังการรักษา และที่สำคัญยังเป็นเทคนิคที่ไม่ต้องกลับมารักษาซ้ำ ทำครั้งเดียวเห็นผลถาวร ช่วยให้คุณกลับมามีผิวที่เรียบเนียนอีกครั้ง เทคนิคนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวทุกประเภทหรือผู้ที่ต้องการรักษาปัญหาหลุมสิวแบบเร่งด่วน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: JUVGEN คืออะไร ทำไมถึงตอบโจทย์การดูแลผิวหน้าของคนยุคใหม่
บทความที่น่าสนใจ
- หน้ามันง่าย เป็นหลุมสิวง่าย ดูแลยังไงให้หน้าใสไกลสิว
- หลุมสิวเกิดจากอะไร รักษาหายเองได้ไหม ดูแลป้องกันได้ยังไงบ้าง
- ฉีดหลุมสิว ดีจริงไหม ทำไม JUVGEN ถึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
ทำ Juvgen ที่ไหนดี ทำไมต้อง Gentle Clinic
Gentle Clinic เราเป็นเจ้าแรกในไทยที่ใช้เทคนิคการรักษาหลุมสิว JuvGenesis จาก Dr.จิน (Jin Se-hun) ที่กล้าการันตีผลลัพธ์หลังการรักษา ทำครั้งเดียวจบ ไม่ต้องมาทำซ้ำ และที่สำคัญตัวเครื่องมือถูกออกแบบมาสำหรับรักษาปัญหาหลุมสิวโดยเฉพาะ จึงรักษาปัญหาได้ลึกถึงชั้นผิวหนังแท้ ปลอดภัยต่อทุกสีผิว (ไม่ทำให้ผิวไวต่อแสงเหมือนเลเซอร์) ระหว่างทำไม่จำเป็นต้องแปะยาชาเพราะไม่เจ็บเลยแม้แต่น้อย แถมยังไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลังการรักษาเหมือนวิธีอื่นๆ อีกด้วย
JuvGenesis ช่วยให้คุณกลับมามีผิวหน้าที่เรียบเนียนขึ้นอีกครั้ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น Rolling scar, Box scar, Ice-pick Scars, หลุมเล็ก, หลุมใหญ่ หรือหลุมลึกก็ตาม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาหลุมสิวแบบเร่งด่วนและะรักษาถาวร นอกจากเทคนิคการรักษาและเครื่องมือคุณภาพสูงแล้ว เรายังมีทีมแพทย์ของมากประสบการณ์ สามารถวิเคราะห์และรักษาได้อย่างตรงจุด มีช่องทางการติดต่อให้ผู้ที่สนใจทั้ง 4 ช่องทาง เพื่อให้คุณได้รับบริการที่ดีที่สุดจากเรา
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม JuvGenesis
- เบอร์โทรศัพท์: 099-245-7555
- Line: https://bit.ly/Gentle4Men
- Facebook: Gentle Clinic
- Instagram: gentleclinic_thailand