ใช้สกินแคร์แล้วสิวขึ้นเกิดจากอะไร สังเกตและดูแลด้วยวิธีไหนดี

Facebook
Twitter

คุณเคยประสบปัญหาใช้สกินแคร์แล้วสิวขึ้นไหมครับ แม้ว่าปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากอาการแพ้ส่วนผสมในเครื่องสำอาง แต่ถึงอย่างไรก็ตามอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่คุณอาจมองข้ามไป วันนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุ พร้อมทั้งวิธีเลือกสูตรให้เหมาะกับผิวของตัวเอง เพื่อให้คุณมีผิวหน้าที่สว่างกระจ่างใส ห่างไกลหลุมสิว

ทำไมทาสกินแคร์แล้วสิวขึ้น

1. มีปัญหากับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์

หลายคนอาจมีสิวเห่อขึ้นหลังจากเปลี่ยนสกินแคร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากส่วนผสมบางตัวในสกินแคร์ที่เข้าไปอุดตันอยู่ในรูขุมขน หรือส่วนผสมบางชนิดที่ระคายเคืองต่อผิว เช่น

  • น้ำมันแร่ (Mineral Oil) เป็นน้ำมันจากแร่ธาตุ ทำหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวหนัง ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวอุดตันง่าย เพราะสารนี้อาจไปอุดตันรูขุมขนง่ายขึ้น
  • ลาโลนิน (Lanolin) เป็นสารสกัดที่ทำมาจากขี้ผึ้งที่ได้จากขนแกะ ทำหน้าที่เพิ่มความชุ่มชื้นและรักษาปัญหาผิวหนังผิดปกติบางประเภท เช่น ผิวแห้ง ผื่นคัน อาจไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นสิวง่าย
  • โคคาไมด์ ดีอีเอ (Cocamide DEA) เป็นสารช่วยเพิ่มฟองในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า แต่อาจทำให้ผิวระคายเคืองและเกิดการอุดตันที่รูขุมขน
  • ไอโซโพรพิล ไมริสเตท (Isopropyl Myristate) เป็นสารลดความหนืดในครีมบางตัว แต่อาจทำให้ผิวระคายเคืองและเกิดการอุดตันที่รูขุมขน
  • โซเดียมลอเรทซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate หรือ SLS) เป็นสารทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง อาจทำให้ผิวแห้งจนเสียสมดุลการผลิตน้ำมัน ทำให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้นและรูขุมขนอุดตัน
  • โพลีไดเมทิลไซล๊อกเซน (Dimethicone) เป็นซิลิโคนที่ช่วยให้เนื้อครีมเรียบเนียน แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไปก็อาจอุดตันรูขุมขนได้
  • น้ำหอม (Fragrance) สารให้กลิ่นบางตัวอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบบนผิว ทำให้เกิดสิว
  • แอลกอฮอล์บางชนิด (Alcohol) อาจทำให้ผิวแห้งเกินไปและกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้นจนอุดตันอยู่ในรูขุมขนและกลายเป็นสิว
  • ปิโตรเลียมเจลลี หรือ ปิโตรลาทัม (Petrolatum) เป็นสารช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น แต่อาจไปอุดตันรูขุมขนหากใช้ในปริมาณมาก หรือใช้กับผู้ที่มีผิวมัน
  • ซิลิโคนบางชนิด (Silicone) ในสกินแคร์อาจซึมเข้าสู่ผิวได้ไม่เต็มที่และอุดตันอยู่ในรูขุมขนจนกลายเป็นสิวตามมา

2. การปรับสภาพผิวหลังใช้ผลิตภัณฑ์

การปรับสภาพผิว (Purging) จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผิวของคุณถูกกระตุ้นจากการใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว หรือส่วนผสมที่กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA (Alpha Hydroxy Acid), BHA (Beta Hydroxy Acid) หรือ เรตินอล (Retinol) และในช่วงที่กำลังใช้ผลิตภัณฑ์อยู่นี้ ผิวอาจตอบสนองด้วยการเกิดสิวขึ้นชั่วคราว เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีกรด AHA หรือ BHA จะเร่งการผลัดเซลล์ผิว ทำให้เซลล์ผิวเก่าหลุดออกและเผยผิวใหม่ที่ยังบอบบางอยู่ ซึ่งบางครั้งการผลัดเซลล์ผิวอาจทำให้สิวที่อุดตันอยู่ใต้ผิวหนังถูกดันขึ้นมา หรือผลิตภัณฑ์บางตัว เช่น เรตินอล (Retinol) หรือกรด BHA ช่วยให้รูขุมขนเปิดขึ้น ทำให้รูขุมขนถูกรบกวนและกระตุ้นให้เกิดสิวขึ้นชั่วคราว หรือแม้แต่บางผลิตภัณฑ์ที่กระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันออกมามากเกินไปในช่วงแรกและทำให้รูขุมขนอุดตันจนเกิดสิวตามมาได้ด้วย โดยทั่วไปแล้วการปรับสภาพผิวอาจใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ กว่าสิวจะค่อยๆ ดีขึ้นและจางหายไปในที่สุด

3. ใช้ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับสภาพสิว

หากคุณเป็นคนผิวมันแล้วไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่มีความมันหรือหนักเกินไป เช่น น้ำมันบางชนิด, ซิลิโคน ก็อาจทำให้น้ำมันและสิ่งสกปรกสะสมอยู่ใต้ผิวง่ายขึ้น, หากคุณใช้ผลิตภัณฑ์บางตัวที่มีความชุ่มชื้นสูงหรือใช้กับผิวมัน ก็อาจกระตุ้นให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้นจนไปอุดตันอยู่ในรูขุมขนและเกิดสิวในที่สุด เป็นต้น

4. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์รุนแรง

ผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีส่วนผสมของสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง เช่น กรด AHA, BHA, หรือเรตินอล (Retinol) อาจระคายเคืองต่อผิวและเกิดการอักเสบได้ โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ผิวยังไม่ได้ปรับตัว หากผิวระคายเคืองในช่วงนี้ก็อาจกระตุ้นให้เกิดสิวหรือทำให้สิวเดิมรุนแรงขึ้น หรือส่วนผสมเหล่านี้อาจกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวออกที่เร็วเกินไป ทำให้รูขุมขนจากเซลล์ผิวที่หลุดลอกและสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ภายใต้ผิวไปอุดตันอยู่ในรูขุมขน รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่รุนแรงเกินไปจนไปทำลายสมดุลการทำงานของผิว ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้นและกระตุ้นการสร้างน้ำมันบนใบหน้ามากขึ้น

5. ใช้ผลิตภัณฑ์หลายตัวพร้อมกัน

การใช้ผลิตภัณฑ์หลายตัวที่มีส่วนผสมที่มีฤทธิ์รุนแรงหรือสารเคมีที่ไม่เหมาะสมเมื่อนำมาใช้รวมกัน เช่น การใช้กรด AHA, BHA, เรตินอล และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์พร้อมกัน อาจทำให้ผิวระคายเคืองและผิวแห้งเกินไป หรือฤทธิ์ของส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ไปกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวมากเกินไปจนทำให้ผิวอักเสบง่ายขึ้น รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์หลายๆ ตัวในแต่ละวัน อาจทำให้ผิวไม่มีเวลาพอที่จะฟื้นฟูหรือปรับตัว เมื่อผิวไม่รับมือกับส่วนผสมหลายชนิดได้ไม่ดีพอ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างผลิตภัณฑ์ด้วยกันเองและเกิดสิวตามมาได้อีกด้วย

ใช้สกินแคร์แล้วสิวขึ้น อาจไม่ได้เกิดจากสกินแคร์เพียงอย่างเดียว

แม้ว่าสกินแคร์จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ใช้สกินแคร์แล้วสิวขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีสาเหตุอื่นที่มีผลต่อการเกิดสิวหลังเปลี่ยนสกินแคร์ด้วย นั่นคือการทำทรีตเมนต์ผิวหน้าที่จะทำให้ผิวบอบบางมากกว่าเดิม เมื่อมีมลภาวะหรือสารในเครื่องสำอางมาเกาะอยู่บนใบหน้าเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกราะคุ้มกันผิวอ่อนแอลงและเกิดสิวตามมาง่ายขึ้น, การอยู่ในพื้นที่ที่ร้อนเกินไปจนกระตุ้นให้เหงื่อไหลไปอยุ่ในรูขุมขนเป็นเวลานานและรวมอยู่กับสิ่งสกปรกต่างๆ จนกลายเป็นสิว, การนอนน้อยเกินไป ต่อให้คุณใช้ผลิตภัณฑ์ราคาแพงก็ตาม แต่หากร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่เกิดจากความเครียดสะสมหรือการนอนน้อยเกินไป ก็อาจทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงฮอร์โมนไม่สมดุล ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เกิดการอักเสบง่าย รวมถึงเกิดผิวแพ้ง่ายและกลายเป็นสิวตามมาอีกด้วยครับ

จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้สกินแคร์

สำหรับวิธีทดสองจะแบ่งเป็น 2 วิธี วิธีแรกให้ทาสกินแคร์ลงบนหลังหู ท้องแขน หรือข้อพับ ให้ได้ขนาดเท่าเหรียญ 10 บาท เป็นประจำเช้า-เย็น เป็นเวลา 7-10 วัน หากไม่พบความผิดปกติใดๆ ที่ผิวหน้า ก็ถือว่าใช้ได้ ส่วนวิธีที่สองจะเป็นการทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังชนิดผื่นแพ้สัมผัส (Patch Test) กับแพทย์ผิวหนังโดยตรง โดยแพทย์จะปิดแผ่นทดสอบบริเวณแผ่นหลัง ในระหว่างนี้คุณจะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้แผ่นทดสอบโดนน้ำหรือพฤติกรรมที่กระตุ้นให้เหงื่อไหลเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ก่อนกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง หากพบความผิดปกติหลังการทดสอง ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณมีภาวะแพ้สกินแคร์หรือมีผิวแพ้ง่าย

แก้ปัญหาใช้สกินแคร์แล้วสิวขึ้นได้อย่างไรบ้าง

1. หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่กระตุ้นให้เกิดสิว

หากสังเกตว่าผลิตภัณฑ์บางตัวทำให้สิวขึ้น ควรหยุดใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นทันที และสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงของผิว โดยทั่วไปแล้วสิวจะค่อยๆ จางลงและหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากสิวยังไม่หายสักที แนะนำให้รีบพบแพทย์ทันทีครับ

2. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวและประเภทของสิว

2.1 หากคุณมีผิวมัน มีสิวอุดตัน

ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยควบคุมความมัน เช่น สบู่หรือโฟมล้างหน้าที่มี Salicylic Acid (BHA) ที่ช่วยขจัดสิ่งสกปรกและไขมันที่อุดตันในรูขุมขน แนะนำเป็น Gel-based moisturizers หรือ Oil-free moisturizers ช่วยให้ผิวไม่มันเกินไป เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่อุดตันรูขุมขน (Non-comedogenic), เลือกมอยส์เจอไรเซอร์และเครื่องสำอางที่มีคำว่า “Non-comedogenic” หมายความว่า เป็นผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน และใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี Benzoyl Peroxide เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิว

2.2 หากคุณมีผิวแห้ง สิวอักเสบ

ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ความชุ่มชื้น โดยใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่ช่วยฟื้นฟูและให้ความชุ่มชื้น เช่น Hyaluronic Acid หรือ Glycerin และใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารลดการอักเสบและการระคายเคืองของผิว เช่น Niacinamide หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ที่มีกรด AHA หรือ BHA ในช่วงที่ผิวแห้งมากเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวแห้งยิ่งขึ้นและอาจระคายเคืองหนักกว่าเดิม

2.3 หากคุณมีผิวผสม

ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับทุกส่วนของผิว ยกตัวอย่างเช่น มอยส์เจอไรเซอร์หรือโฟมล้างหน้าที่ไม่ทำให้ผิวแห้งหรือมันเกินไป ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี Hydrating ingredients เช่น Aloe Vera หรือ Ceramides เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวในส่วนที่แห้ง แต่หากผิวส่วนใดมีความมันมากเป็นพิเศษ ก็อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมความมันในบางจุดเท่านั้น เช่น ใช้โฟมที่ควบคุมความมันเฉพาะ T-zone และที่สำคัญควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือสารระคายเคืองอื่นๆ เพราะอาจทำให้ปัญหาผิวหน้าของคุณรุนแรงมากกว่าเดิม

2.4 หากคุณมีผิวบอบบาง มีสิวผด

ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำหอม หรือแอลกอฮอล์ ที่อาจทำให้ผิวระคายเคือง ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารปลอบประโลมผิว เช่น Centella Asiatica, Aloe Vera, หรือ Chamomile Extract และอย่าลืมเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฟื้นฟูผิว เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มี Ceramides และ Hyaluronic Acid เพื่อเสริมเกราะป้องกันและเติมความชุ่มชื้นให้แก่ผิว

2.5 หากคุณมีสิวอักเสบ (สิวอักเสบและสิวหัวหนอง)

ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ลดการอักเสบและฆ่าเชื้อ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มี Benzoyl Peroxide หรือ Tea Tree Oil ที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว หรือ Salicylic Acid (BHA) ที่ช่วยลดการอักเสบและการอุดตันในรูขุมขน ทั้งนี้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิวโดยตรง ทั้งการบีบ แกะ เกา เพื่อไม่ให้ผิวระคายเคืองและเกิดแผลเป็นหลังจากสิวหายแล้ว

2.6 หากคุณมีสิวฮอร์โมน

ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี Niacinamide, Zinc, หรือ Retinol ซึ่งช่วยลดการผลิตน้ำมันและควบคุมการเกิดสิว, เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติ Non-comedogenic และไม่เพิ่มการอักเสบ

3. ดูแลความสะอาด

ด้วยการล้างหน้าโดยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เหมาะสมกับสภาพผิว หลีกเลี่ยงการล้างหน้าบ่อยเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวแห้งเกินไปและกระตุ้นการผลิตน้ำมันมากขึ้น รวมถึงหมั่นทำความสะอาดเครื่องสำอางหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผิวหน้าบ่อยๆ เช่น แปรงแต่งหน้า หรือมือถือ ที่อาจสะสมสิ่งสกปรกได้ง่าย

4. ให้ผิวได้พักบ้าง

การหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์แรง เช่น กรด AHA, BHA หรือเรตินอล ในบางเวลา จะช่วยให้ผิวฟื้นฟูตัวเองได้โดยไม่ต้องรับการกระตุ้นจากสารเคมีที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือทำให้ผิวแห้งเกินไป เนื่องจากระบบการทำงานของผิวจะไม่ถูกกดดันและคืนสมดุลในตัวเองได้ไวขึ้น อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงจากการอักเสบที่ทำให้ผิวไม่อ่อนแอ หรือไวเกินไปต่อการใช้สกินแคร์ในอนาคตอีกด้วย

5. ลดความเครียด

ในเมื่อความเครียดไปกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น การลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ หรือการพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยลดการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ให้น้อยลงและอยู่ในภาวะที่สมดุล ทำให้ผิวผลิตน้ำมันน้อยลงและลดโอกาสการเกิดสิวได้

6. ปรึกษาแพทย์

แม้ว่าคุณจะดูแลตัวเองดีแค่ไหน แต่หากยังคงมีปัญหาสิวขึ้นมาซ้ำซากอยู่ ก็อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน โดยมีสิวเป็นผลข้างเคียงจากปัญหาสุขภาพ ดังนั้นเราขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพโดยรวมอย่างละเอียด ที่นอกจากจะช่วยรักษาสิวให้หายได้แล้ว ยังช่วยรักษาปัญหาสุขภาพที่อาจรุนแรงยิ่งขึ้นในระยะยาวอีกด้วยครับ

สิวจากสกินแคร์หายแล้ว แต่หลุมสิวยังอยู่ ทำไงดี

โปรแกรม ScarSurgery หรือ ศัลกรรมเสริมเนื้อใต้หลุมสิวถาวรด้วยเทคโนโลยี Juvgen จาก Gentle Clinic ที่ถูกคิดค้นด้วย ดร.จิน หรือนายแพทย์ จินเซฮุน (Dr. Jin Se-hun) ศัลยแพทย์ชื่อดังจากเกาหลี ผ่านการฉีด Co2 foam ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) และกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) อนุภาคเล็กเข้าไปยังชั้นหนังแท้ใต้แผลเป็น หลุมสิว หรือริ้วรอยร่องลึก โดยแพทย์จะฉีดสารเข้าไปทีละนิด ๆ เพื่อฉีกเซลล์ทิ้งและกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นใยและเนื้อเยื่อคอลลาเจนจำนวนมากเพื่อปิดหลุมสิวในทันที แต่หลังจากการรักษาประมาณ 30-60 วัน ตัวสารที่ฉีดเข้าไปจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นใยและเนื้อเยื่อคอลลาเจนจำนวนมากบริเวณหลุมสิว ส่งผลให้มีการเติมเต็มเนื้อเยื่ออย่างถาวร คนไข้จึงไม่จำเป็นต้องกลับมารักษาซ้ำเป็นรอบที่สอง

นอกจากนี้ตัวเครื่องจูวีเจนถูกออกแบบสำหรับรักษาปัญหาผิวหน้าโดยเฉพาะ คนไข้จึงไม่ต้องฉีดยาชาบรรเทาอาการเพราะไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองใดๆ ทั้งระหว่างและหลังการรักษาแล้ว และที่สำคัญยังไม่มีผลข้างเคียงหลังการรักษาอีกด้วยครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: JUVGEN ดียังไง ทำไมถึงเติมเต็มหลุมสิวลึกถาวร ภายในครั้งเดียว

บทความที่น่าสนใจ

ทำ Juvgen ที่ไหนดี ทำไมต้อง Gentle Clinic

Gentle Clinic เราเป็นทีมแรกในไทยที่ใช้เครื่อง JuvGen รักษาหลุมสิวและร่องลึก โดยได้รับการเทรนโดยตรงจาก Dr.จิน (Jin Se-hun) เราพร้อมด้วยประสบการณ์และเทคนิคในการยิงหลุมที่ลึกและยากกว่าหลุมทั่วไป เช่น box scar ที่มีขอบแข็ง หลุมแผลเป็นลึกจากอีสุกอีใส ร่องพับลึกบนหน้าฝาก เป็นต้น เราจึงกล้าการันตีผลการรักษา จ่ายครั้งเดียวจบ เติมหลุมสิวจนเต็มโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม JuvGen

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter

พร้อมยินดีให้คำปรึกษา

เจนเทิล คลีนิก เปิดให้บริการเวลา 12.00 – 20.00 น.

บทความที่น่าสนใจ